

– ชาวต่างชาติเข้ามาขายสินค้า
การค้าระหว่างประเทศ ในระยะแรกพระเจ้าตากสินทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์
ในกำไรซื้อข้าวสารแจกราษฎร โดยให้ราคาสูง
ทำให้ชาวต่างชาติที่ทราบข่าวก็นำสินค้าเข้ามาขายเป็นจำนวนมาก
ทำให้สินค้าที่ชาวต่างชาตินำเข้ามาขายมีราคาถูกลงและสามารถบรรเทาความอดอยาก
และการขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคและเมื่อราษฎร
ที่หลบหนีอยู่ตามป่าทราบข่าว ว่าพระเจ้าตากสินซื้อข้าวปลาอาหารแจกราษฎร
ต่างก็พากันออกจากป่าเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงธนบุรีเพิ่มขึ้น
จะได้เป็นกำลังของชาติในการรวบรวมอาณาจักรต่อไป
ซึ่งเมื่อพ่อค้ำแข่งขันกันนำสินค้าเข้ามาขายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
เกินความต้องการของราษฎร ราคาสินค้าก็ถกลงตามลำดับ
ความเดือนร้อนของราษฎรก็หมดไป หลังจากบ้านเมืองเข้าสู่ ภาวะปกติ
พระเจ้าตากสิ น โปรดให้แต่งสำเภาออกไปค้าขายยังประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่
และยังติดต่อขอซื้อทองแดงจากญี่ปุ่น
– การค้าขายเรือสำเภากับจีน
ประเทศ
ไทย หรือที่รู้จักกันในสมัยโบราณว่าสยาม และประเทศจีน
เป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงมาช้านาน
ชาวไทยและชาวจีนได้ไปมาหาสู่และติดต่อสัมพันธ์กันทั้งทางวัฒนธรรม
เศรษฐกิจและการเมืองมาตั้งแต่โบราณ
แม้ว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่ใหญ่กว่าและมีพลเมืองมากกว่าประเทศไทยก็ตาม
แต่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองส่วนมากจะมีลักษณะที่เอื้อประโยชน์ต่อ
กันฉันท์ญาติมิตร ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของประวัติศาสตร์
ประเทศไทยกับประเทศจีนได้มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด
บางขณะอาจไปมาหาสู่กันบ่อยครั้ง ในบางคราวอาจห่างเหินไปบ้าง
อันเนื่องมาจากปัญหาภายในของแต่ละประเทศและสถานการณ์ระหว่างประเทศ
ประเทศไทยและจีน แม้ว่าจะอยู่ไม่ไกลกัน
แต่การติดต่อถึงการทางบกในสมัยโบราณค่อนข้างลำบาก
เนื่องจากเส้นทางและภูมิประเทศค่อนข้างทุรกันดาร ดังนั้น
การติดต่อระหว่างประเทศทั้งสองจึงมักใช้ทางทะเล ซึ่งนำไปสู่
“การค้าสำเภา” (Junk Trade) ระหว่างกัน
เดิมจีนมีศูนย์กลางอำนาจที่ลุ่มแม่น้ำฮวงโฮ จีนสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก
(พ.ศ. 337 – 568) ได้ส่งทูตมาติดต่อกับชุมชนโบราณหลายชุมชนในเอเชียอาคเนย์
รวมทั้งบริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีน แม่กลอง และเจ้าพระยา เช่น ตว้อหลอพอตี้
(ทวาราวดี) หลอหู (อาจหมายถึงละโว้หรืออู่ทอง) เสียน
(อาจหมายถึงสุพรรณภูมิหรือสุโขทัย)
การติดต่อระหว่างไทยกับจีนในสมัยโบราณนั้นมีมานานแล้ว
แต่เท่าที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ความสัมพันธ์สมัยโบราณอย่างเป็นทางการได้เริ่มขึ้นในสมัยสุโขทัยของไทย
ซึ่งเป็นสมัยเดียวกันกับที่ราชวงศ์หยวนของเผ่ามองโกลในจีน
การติดต่อระหว่างจีนกับไทยได้มีขึ้นโดยทางฝ่ายจีนเป็นผู้ริเริ่มก่อน
พงศาวดารจีนราชวงศ์หยวนได้บันทึกไว้ว่า ประมาณปี พ.ศ. 1825
จักรพรรดิกุบไลข่านแห่งราชวงศ์หยวนได้ส่งทูตเข้ามาติดต่อกับอาณาจักร
“เสียน” ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่ออยุธยาล่มสลายด้วยกำลังทหารของพม่าใน
พ.ศ. 2310 ผู้นำไทยย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี
และต่อมาที่กรุงรัตนโกสินทร์หรือกรุงเทพฯ
ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ประเทศไทยและประเทศจีนก็ยังคงมีสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน
ไทยยังคงส่งทูตเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปถวายแก่จักรพรรดิ
จีนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อขอความสะดวกในการค้าสำเภา ในสมัยธนบุรีและตลอด 4
รัชกาลแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยได้ส่งทูตไปจีนรวม 56 ครั้ง จนถึง พ.ศ.
2396 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 รัชกาลแรก ไทยส่งคณะทูตไปจีนแทบทุกปี
การติดต่อระหว่างประเทศไทยกับจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าสำเภา
ได้สร้างความมั่งคั่งให้กับกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่างมาก
ผลกำไรจากการค้าสำเภากับจีน
ทำให้ไทยมีเงินทุนเพียงพอในการสร้างบ้านเมืองเพื่อทำสงครามต่อต้านการรุกราน
ของพม่าและเพื่อการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างไรก็ดี ผู้นำของไทยมิได้ยอมรับตามคตินิยมของจีน ไทยมิได้หวาดกลัวว่าจีนจะคุกกคาม เนื่องจากจีนอยู่ห่างไกล และไม่เคยคุกคามความมั่นคงของไทยเลย ไทยส่งคณะทูตพร้อมด้วยพระราชสาส์นและของกำนัลหรือเครื่องบรรณาการ ก็เพื่อความสะดวกในการค้าขาย พระราชสาส์นของกษัตริย์ก็เป็นการแสดงสันถวไมตรี มิได้แสดงว่าอ่อนน้อมยอมเป็นเมืองขึ้น ส่วนเครื่องบรรณาการที่ส่งไปด้วย ก็เพื่อแสดงไมตรีจิต และเพื่อเป็นไปตามความต้องการของจีนตามประเพณีจีน
ต่อมาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนใน “ระบบ
บรรณาการเพื่อการค้า” นี้ได้ลดความสำคัญและประโยชน์ลง
ในตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
ไทยได้ทำการค้ากับตะวันตกมากขึ้นหลังจากการทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ
พ.ศ. 2398 ในขณะที่ผลกำไรจากการค้าสำเภาจีนได้ลดลงตามลำดับ
ทั้งนี้เพราะความไม่ปลอดภัยในการเดินทาง
เนื่องจากจักรพรรดิราชวงศ์ชิงในระยะหลังอ่อนแอ
อีกทั้งเผชิญกับปัญหาการต่อต้านจากภายในและการท้าทายคุกคามจากภายนอก
ไทยได้ส่งคณะทูตไปจีนเป็นครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2396
และหลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงยุติการส่งคณะทูตและ
การค้าบรรณาการกับจีน
เพราะพระองศ์ท่านไม่ประสงค์จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่ประเทศที่ติดต่อ
กับไทย
อีกทั้งประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไทยได้รับไม่คุ้มกับการลงทุนเนื่องจากความไม่
ปลอดภัยในการเดินทาง อาจกล่าวได้ว่า พ.ศ. 2396
เป็นปีสุดท้ายของการส่งบรรณาการเพื่อการค้า
นับเป็นการสิ้นสุดความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนในสมัยโบราณภายใต้ระบบ
บรรณาการเพื่อการค้า
การเก็บภาษีต่างๆ
การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2311 – พ.ศ. 2324) หลังจากที่บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว รายได้ของรัฐ ที่เก็บจากราษฎรยังคงใช้อย่างอยุธยาตอนปลายดังนี้
จกอบ หมายถึง ภาษีผ่านด่านเรียกเก็บจากผู้นำสินค้าเข้ามาขาย
อากร หมายถึง ภาษีที่เก็บจากราษฎรที่ประกอบอาชีพทุกชนิดยกเว้นการค้าขาย
ฤชา หมายถึง ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากราษฎรที่ใช้บริการของรัฐเช่นการออกโฉนดที่ดินค่าปรับผู้แพ้คดี
ส่วย หมายถึง เงิน หรือ สิ่งของที่เก็บแทนการเกณฑ์แรงงานของราษฎรที่ต้องเข้าเวร
การจัดเก็บส่วยสาอากรทั้ง 4
ประเภท ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ได้ถูกกำหนดเป็นรูปแบบการจัดเก็บต่อเนื่องมาจนถึงสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี
และตอนต้นรัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 3
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์
รัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องการใช้เงินในราชการมากกว่าแต่ก่อนพระองค์จึงทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเป็นผลให้เกิดการจัดเก็บ
ภาษีขึ้นใหม่ 38 ประเภท ทั้งนี้โดยเป็นภาษีที่เก็บจากการพนัน
และจากผลผลิตประเภทต่างๆ จำแนกได้ดังนี้
– ภาษีไม้สีสุก – ภาษีน้ำตาลอ้อย – ภาษีเกวียน โคต่าง
– ภาษีไต้ชัน – ภาษีฟืน – ภาษีไม้รวก
– ภาษีปอ – ภาษีเตาตาล – ภาษีปูน
– ภาษีฝาง – ภาษีไม้ค้างพลู – ภาษีสำรวจ
– ภาษีไม้แดง (เก็บจากผู้ซื้อลงสำเภา) – ภาษีไม้ต่อเรือ – เรือจ้างทางโยง
– ภาษีไม้แดง (เก็บจากผู้ขาย) – ภาษีไม้ซุง – ภาษีไม้ไผ่ป่า
– ภาษีเกลือ – ภาษีฝ้าย – ภาษีน้ำตาลทราย
– ภาษีน้ำมันมะพร้าว – ภาษีเนื้อแห้ง – ภาษีกระแซง
– ภาษีน้ำมันต่างๆ – ภาษีคราม – ภาษีน้ำตาลหม้อ
– ภาษีกะทะ – ปลาแห้ง – ภาษีจาก
– ภาษีต้นยาง – ภาษีเยื่อเคย – ภาษียาสูบ
– ภาษีพริกไทย
(เก็บจากผู้ซื้อลงสำเภา)
– ภาษีพริกไทย (เก็บจากชาวไร่ที่ปลูกพริกไทย)
– ภาษีจันอับ ไพ่ เทียนไขเนื้อ และขนมต่างๆ
– บ่อนเบี้ย หวย ก.ข. ภาษีเบ็ดเสร็จ (เก็บของลงสำเภา)
– ภาษีของต้องห้ามหกอย่าง (ได้แก่ อากรรังนก, ไม้กฤษณา, นอแรด, งาช้าง, ไม้จันทร์, ไม้หอม)
นอกจากการกำหนดให้มีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษี โดยการเพิ่มประเภทภาษีอากรที่จัดเก็บ
38 ประเภทข้างต้น
พระองค์ยังได้กำหนดให้มีการปรับปรุงรูปแบบการจัดเก็บโดยการนำระบบเจ้าภาษี
นายอากรมาใช้กล่าวคือ ให้มีการจัดเก็บภาษีเป็นการผูกขาดโดยเอกชน
ทั้งนี้เอกชนผู้ใดประสงค์จะรับเหมาผูกขาดการจัดเก็บภาษีประเภทใด
ก็จะเข้ามาร่วมประมูล ผู้ให้ราคาสูงสุดจะเป็นผู้ผูกขาดจัดเก็บ
ซึ่งจะเรียกว่า เจ้าภาษีนายอากร
รัฐบาลจะมอบอำนาจสิทธิขาดในการจัดเก็บภาษีอากรชนิดนั้นให้ไปดำเนินการ
เมื่อถึงเวลากำหนด
ผู้ประมูลจะต้องนำเงินภาษีอากรที่จัดเก็บมาส่งให้ครบจำนวนตามที่ประมูลไว้
ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างที่สุดช่วงต้นรัชกาล
เศรษฐกิจ ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้นครองราชสมบัตินั้นบ้านเมืองกำลังประสบ
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด เกิดการขาดแคลนข้าวปลาอาหาร และเกิดความอดอยาก
ยากแค้น จึงมีการปล้นสะดมแย่งวิง อาหาร
การแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจในสมัยกรุงธนบุรี
1. ปัญหาความอดอยากของราษฎร
2. การค้าระหว่างประเทศ
3. การเก็บภาษีอากร
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด เกิดการขาดแคลนข้าวปลาอาหาร และเกิดความอดอยาก
ยากแค้น จึงมีการปล้นสะดมแย่งวิง อาหาร
การแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจในสมัยกรุงธนบุรี
1. ปัญหาความอดอยากของราษฎร
2. การค้าระหว่างประเทศ
3. การเก็บภาษีอากร
ปัญหาความอดอยากของราษฎร เนื่องจากมีศึกสงครามมาตั้งแต่ พ.ศ. 2309 พม่า
ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้
จนกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ราษฎรถูกต้อนไปเป็นเชลยจำนวนมาก
บางพวกก็หลบหนีภัยสงครามเข้าป่าก็มาก บางพวกก็หนีเข้าไปพึ่งชุมนุมต่าง ๆ
หลังจากที่พระเจ้าตากสินกอบกู้เอกราชได้แล้ว
ราษฎรเริ่มอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงธนบุรี
โดยการที่พระเจ้าตากสินส่งผู้คนออกไปเกลี้ยกล่อมชักชวนให้เข้ามาอาศัยอยู่ใน
เมืองจะได้เป็นกำลังในการสร้างชาติ ปัญหาที่ตามมาก็คือ
การขาดแคลนอาหารเครื่องอุปโภคบริโภค พระเจ้าตากสินต้องสละทรัพย์ส่วนพระองค์
ในการซื้อข้าวสาร อาหาร เสื้อผ้า แจกราษฎร
นอกจากนี้พระเจ้าตากสินยังโปรดให้เกณฑ์ข้าราชการไปช่วยทำนา
นอกฤดูกาลอีกเพื่อให้ได้ข้าวเพิ่มขึ้น มีการส่งเสริมให้มีการทำนาปีละ๒
ครั้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการ
และสะสมไว้เป็นเสบียงในการยกทัพไปทำสงคราม
การค้าระหว่างประเทศ ในระยะแรกพระเจ้าตากสินทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์
ในการซื้อข้าวสารแจกราษฎร โดยให้ราคาสูง
ทำให้ชาวต่างชาติที่ทราบข่าวก็นำสินค้าเข้ามาขายเป็นจำนวนมาก
ทำให้สินค้าที่ชาวต่างชาตินำเข้ามาขายมีราคาถูกลง ตามหลักเศรษฐศาสตร์เรื่อง อุป
สงค์และอุปทาน กล่าวคือประการที่หนึ่ง เมื่อพ่อค้าชาวต่างชาติทราบว่าสินค้า
ที่นำเข้ามาขาย ที่กรุงธนบุรี จำหน่ายได้ดีและได้ราคาสูง
ชาวต่างชาติก็นำสินค้าลงเรือมาขายยังกรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก
สามารถบรรเทาความอดอยาก
และการขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค ประการที่สอง เมื่อราษฎรที่หลบหนีอยู่ตาม
ป่าทราบข่าว ว่าพระเจ้าตากสิน ซื้อข้าวปลาอาหารแจกราษฎร
ต่างก็พากันออกจากป่าเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงธนบุรีเพิ่มขึ้น
จะได้เป็นกำลังของชาติในการรวบรวมอาณาจักรต่อไปประการที่สาม เมื่อพ่อค้า
แข่งขันกันนำสินค้าเข้ามาขายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เกินความต้องการของราษฎร
ราคาสินค้าก็ถูกลงตามลำดับความเดือนร้อนของราษฎรก็หมดไป
หลังจากบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ พระเจ้าตากสิน โปรดให้แต่งสำเภา
ออกไปค้าขายยังประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่ และยังติดต่อขอซื้อทองแดงจากญี่ปุ่น
พัฒนาการด้านเศรษฐกิจตอนต้น
เศรษฐกิจไทยสมัยกรุงธนบุรีตอนต้น ประชาชนส่วนใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรีตอนต้น
มีอาชีพหลัก คือ การทำกสิกรรม เป็นเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเอง
และมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน ชวา มลายู
และประเทศตะวันตก การค้ากับต่างประเทศส่วนใหญ่ค้าขายทางาทะเลโดยเรือสำเภา
มีพระคลังสินค้าทำหน้าที่ผูกขาดการซื้อขายสินค้า
รายได้ของแผ่นดินนั้นจะได้จากการเก็บภาษี 4 ประเภท
เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา คือ จังกอบ อากร ส่วย และฤชา
สินค้าที่ส่งออกขายต่างประเทศส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าว น้ำตาล พริกไทย ดีบุก รังนก ฝาง และของอื่น ๆ ในพระคลังสินค้า ได้มีการทำสัญญาทางการค้าระหว่างไทยกับอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2369 เรียกว่า สัญญาเบอร์นี และได้ทำสัญญากับสหรัฐอเมริกาในทำนองเดียวกัน จึงทำให้พ่อค้าต่างประเทศเข้ามาค้าขายในกรุงเทพ ฯ มากขึ้น ทำให้ไทยมีโอกาสส่งสินค้าออกได้มากขึ้น
ดังนั้นรายได้ของแผ่นดินในสมัยกรุงธนบุรีตอนต้นได้จากกิจการ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ภาษีอากรที่เก็บในประเทศและภาษีขาเข้ารวมทั้งการค้ากับต่างประเทศด้วย
สินค้าที่ส่งออกขายต่างประเทศส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าว น้ำตาล พริกไทย ดีบุก รังนก ฝาง และของอื่น ๆ ในพระคลังสินค้า ได้มีการทำสัญญาทางการค้าระหว่างไทยกับอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2369 เรียกว่า สัญญาเบอร์นี และได้ทำสัญญากับสหรัฐอเมริกาในทำนองเดียวกัน จึงทำให้พ่อค้าต่างประเทศเข้ามาค้าขายในกรุงเทพ ฯ มากขึ้น ทำให้ไทยมีโอกาสส่งสินค้าออกได้มากขึ้น
ดังนั้นรายได้ของแผ่นดินในสมัยกรุงธนบุรีตอนต้นได้จากกิจการ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ภาษีอากรที่เก็บในประเทศและภาษีขาเข้ารวมทั้งการค้ากับต่างประเทศด้วย
ส่งเสริมการค้ากับต่างชาติ
– ความสัมพันธ์การค้ากับจีนส่วนใหญ่เป็นเรื่องการค้าขายกับจีน ในสมัยกรุงธนบุรี ปรากฎว่ามีสำเภาของพ่อค้าจีน เข้ามาติดต่อค้าขายตลอดรัชกาลและทางไทยก็ได้เอาใจใส่ในการทะนุบำรุงการค้า ขายทางเรือนี้อย่างมาก สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงส่งสำเภาหลวงออกไปทำการติดต่อค้าขายกับเมืองจีนอยู่ เสมอ จึงนับว่าจีนเป็นชาติที่สำคัญที่สุดที่เราติดต่อทางการค้าด้วย ในสมัยกรุงธนบุรีในปี พ.ศ. 2324 สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ได้ทรงส่งคณะทูตชุดหนึ่ง มีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช เป็นหัวหน้าคณะออกไปเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้ากรุงจีน ในแผ่นดินพระเจ้าเกาจงสุนฮ่องเต้ (พระเจ้ากรุงต้าฉิ่ง ) ณ กรุงปักกิ่ง ทั้งนี้ก็เพื่อขอให้ทางจีนอำนวยความสะดวก ให้แก่ไทยในการจัดแต่งสำเภาหลวง บรรทุกสินค้าออกไปค้าขายที่เมืองจีนต่อไป โดยขอให้ยกเว้นค่าจังกอบและขอซื้อสิ่งของบางอย่าง เช่น อิฐ เพื่อนำมาใช้ในการสร้างพระนคร กับขอให้ทางจีนช่วยหาต้นหนสำเภา สำหรับจะแต่งเรือออกไปซื้อทองแดงที่ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาใช้สร้างพระนครเช่นเดียวกัน ปรากฎว่าคณะทูตไทยที่ออกไปเจริญทางพระราชไมตรี กับพระเจ้ากรุงจีนครั้งนี้คุมเรือสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปด้วยถึง 11 ลำในพระราชสาส์น ที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงมีไปยังพระเจ้ากรุงต้าฉิ่ง ในครั้งนั้นปรากฎในจดหมายเหตุจีนว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงออกพระนามของพระองค์เองเป็นภาษาจีนว่า “แต้เจียว” มีคำเต็มว่า เสี้ยมหลอก๊กเจียงแต้เจียวความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างไทยกับจีนเริ่มต้น จากการค้าข้าวเป็นสำคัญ ต่อมาได้ขยายเพิ่มขึ้น โดยประเทศจีนได้ส่งสินค้าพื้นเมืองจากแต้จิ๋วมาขาย ที่สำคัญ คือ เครื่องลายคราม ผ้าไหม ผักดอง และเสื่อ เป็นต้น เที่ยวกลับก็จะซื้อสินค้าจากไทย อาทิ ข้าว เครื่องเทศ ไม้สัก ดีบุก ตะกั่ว กลับไปยังเมืองจีนด้วย เช่นกันนอกจากนั้น ในปี พ.ศ. 2320 ได้มีหนังสือจีน ฉบับหนึ่งในสมัยราชวงศ์ ไต้เชงแห่งแผ่นดิน เฉียงหลง ปีที่ 42 ได้บันทึกไว้ว่า “สินค้าของไทยมี อำพัน ทอง ไม้หอม งาช้าง กระวาน พริกไทย ทองคำ หินสีต่าง ๆ ทองคำก้อน ทองคำทราย พลอยหินต่างๆ และตะกั่วแข็ง เป็นต้น
– ความสัมพันธ์การค้ากับโปรตุเกส
การค้าขายกับโปรตุเกส ปรากฎในจดหมายเหตุของบาทหลวงฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาอยู่ในกรุงธนบุรีครั้งนั้น มีความตอนหนึ่งว่า เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2322 มีเรือแขกมัวร์จากเมืองสุรัต ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส เข้ามาค้าขาย ณ กรุงธนบุรีด้วยและว่า ที่ภูเก็ตเวลานั้นมีพวกโปรตุเกสครึ่งชาติอยู่ 2-3 คน อยู่ในความปกครองของบาทหลวงฟรังซิสแกงของโปรตุเกส จึงแสดงว่า ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นเราได้มีการติดต่อค้าขายสมาคมกับชาวโปรตุเกสอยู่บ้าง โดยทางเราได้เคยส่งสำเภาหลวงออกไปค้าขายยังประเทศอินเดียจนถึงเขตเมืองกัว เมืองสุรัต อันเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสอยู่ในครั้งนั้นด้วยเหมือนกัน แต่ทว่าในตอนนั้นยังมิได้ถึงกับมีการส่งทูตเข้ามาหรือออกไปเจริญทางพระ ราชไมตรีอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด
– ความสัมพันธ์การค้ากับอังกฤษ
ในตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี บรรดาฝรั่งชาติต่าง ๆ ที่เดินทางเข้ามาค้าขายในเอเชีย มีการแย่งชิงอำนาจกัน ทางการค้าเป็นอันมาก ด้วยเหตุนี้ อังกฤษจึงมีความประสงค์ที่จะได้สถานที่ตั้งสำหรับทำการค้าขาย แข่งกับพวกฮอลันดา ทางด้านแหลมมลายูสักแห่งหนึ่ง อังกฤษเห็นว่าเกาะหมาก (ปีนัง) มีความเหมาะสม จึงได้พยายามเจรจาเกลี้ยกล่อมกับพระยาไทรบุรี ผู้มีอำนาจปกครองเกาะนี้อยู่เพื่อจะขอเช่าไว้ทำการค้า เป็นผลให้อังกฤษเริ่มแผ่อำนาจเข้ามาครอบครองแหลมมลายูตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้น มาความปรากฏในพระราชพงศาวดารว่าในปี พ.ศ. 2319 กะปิตันเหล็ก (ฟรานซิสไลท์) เจ้าเมืองเกาะหมาก ได้ส่งปืนนกสับเข้ามาถวายสมเด็จพระเจ้าตากสิน จำนวน 1,400 กระบอก พร้อมด้วยสิ่งของเครื่องราชบรรณาการต่าง ๆดังนี้ย่อมแสดงว่าในสมัยกรุงธนบุรีนี้ เราได้เริ่มมีทางไมตรีกับอังกฤษ ซึ่งกำลังแผ่อำนาจเข้ามาครอบครองแหลมมลายูบ้างแล้ว
– ความสัมพันธ์การค้ากับฮอลันดา
ปรากฏว่าในปี พ.ศ. 2313 แขกเมืองตรังกานูและแขกเมืองยักตรา(คือเมืองจาการ์ตา ในเกาะชวา เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน) ได้นำปืนคาบศิลาเข้ามาถวายถึง 2,200 กระบอก ในขณะที่กำลังจะเสด็จกรีธาทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ซึ่งแสดงว่าฮอลันดาก็น่าจะเป็นชาวยุโรปอีกชาติหนึ่ง ที่เข้ามาติดต่อสมาคมค้าขายกับไทยเราในสมัยกรุงธนบุรีนี้ เพราะในเวลานั้นฮอลันดาเป็นผู้มีอำนาจปกครองเกาะชวาอยู่